# พยัญชนะและสระวางอยู่บนบรรทัดเดียวกัน มีขนาดเท่ากัน และวางสระอยู่ในตำแหน่งหน้าและหลังพยัญชนะเท่านั้น
# สระที่วางไว้หน้าพยัญชนะ ได้แก่ - ิ - ี - ื - ุ - ู เ- แ- ใ- ไ- โ-
# สระที่วางไว้หลังพยัญชนะ ได้แก่ -ะ -า -อ -ัว
# สระที่วางไว้ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะ ได้แก่ แ-ะ เ-ีย เ-ือ เ-อ
# สระ เ-ีย เมื่อไม่มีตัวสะกดจะเขียนเต็มรูป มีตัว ย สองตัวเรียงกัน ตัวแรกจะเขียนชิดกับพยัญชนะต้น ส่วนอีกตัวจะเขียนห่างออกไป แต่ถ้ามีตัวสะกดจะคงตัว ย เพียงตัวเดียว เช่น วยง “เวียง” สยง “เสียง”
# สระเขียนติดกับพยัญชนะ
# คำที่ประสมกับสระ ไม่ต้องมี “อ” เคียง
# สระ -ัว ถ้าไม่มีตัวสะกด ใช้พยัญชนะ “ว” สองตัวแทน ตัวหนึ่ง คือ ไม้หันอากาศ
อีกตัวหนึ่งเป็นตัวสะกด โดยตัวแรกจะเขียนติดกับพยัญชนะส่วนอีกตัวจะเขียนห่างออกไป และถ้ามีตัว “ว” สะกดใช้ตัว “ว” ตัวเดียว เช่น หวว “หัว” ตวว “ตัว”
# เครื่องหมายไม้หันอากาศ -ั ไม่มีใช้ คำที่ประสมด้วยสระ -ะ มีตัวสะกดจะใช้พยัญชนะตัวสะกดนั้นสองตัวแทน โดยเขียนชิดติดกัน เช่น มนน “มัน”
# เครื่องหมายวรรณยุกต์ จะวางไว้บนพยัญชนะต้น และถ้าเป็นพยัญชนะควบกล้ำหรือ
อักษรนำจะวางวรรณยุกต์ไว้ที่พยัญชนะตัวแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น